วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้าวเหนียวหอมสกล

ข้าวเหนียวหอมสกล ที่ปลูกช่วงตรุษจีนไปแล้วนั้นยังไม่แน่ใจว่าสายพันธุ์ที่แท้มาจากที่ใด สอบถามพี่สุเรียนก็ได้รับคำตอบว่าเป็นสายพันธุ์พื้นถิ่นที่ถูกปรับให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศเมืองน่านมานานแล้ว

เมื่อศึกษาดูจากเว็บไซต์แล้วพบข้อมูลแต่ไม่แน่ใจว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ ก็ต้องสืบค้นต่อไป
ชื่อพันธุ์ - สกลนคร (Sakon Nakhon)
ชนิด - ข้าวเหนียว
คู่ผสม - หอมอ้ม / กข10
ประวัติพันธุ์ - ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์หอมอ้ม กับพันธุ์ กข10 ที่สถานีทดลองข้าวขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2525 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสกลนครจนได้สายพันธุ์ KKNUR82003-SKN-69-1-1
การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่
22 ธันวาคม 2543


ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 123-146 เซนติเมตร
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 128 วัน
- ทรงกอตั้ง ปล้องและกาบใบสีเขียว มีขนบนใบ ใบธงตั้งตรง
- การร่วงของเมล็ดปานกลาง
- รวงแน่นปานกลาง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตร
ผลผลิต - ประมาณ 467 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น - เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้นกว่าพันธุ์ กข10
- ปลูกได้ทั้งในสภาพนาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม ใกล้เคียง กข6
ข้อควรระวัง - ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
พื้นที่แนะนำ - พื้นที่นาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



สงสัยต้องไปสืบค้นจากกลุ่มเกษตรบ้านทุ่งฆ้อง อ.ท่าวังผา จ.น่าน เพิ่มเติมอีกสักหน่อยถึงจะรู้ได้ว่า สายพันธุ์นี้พัฒนามาจากสายพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น